ไฟถนนโซล่าเซลล์ ติดตั้งง่ายไม่ต้องเดินไฟฟ้าให้ยุ่งยาก

ไฟถนนโซล่าเซลล์ ได้มีการติดตั้งเพิ่มทั่วทุกมุมทั่วโลก และได้มีการขยายการเติบโตอย่างช้าๆตามท้องถนนยามค่ำคืน หลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานและประสิทธิภาพความสว่างได้ดีกว่าระบบแสงไฟธรรมดาหรือแบบดั้งเดิมหลายเท่า นอกจากนี้หลอดไฟ LED ยังช่วยให้แสงนีออนเห็นได้ชัดกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์อีกด้วย หลอดไฟแบบแสงธรรมดาเป็นเกมของเมื่อวานเนื่องจากในตัวหลอดไฟนั้นมีความเปราะบาง ไฟ LED พลังงานแสงอาทิตย์ได้ทำให้คนหันมาสนใจและได้มีการแข่งขันการทำระบบแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ ต่อไปนี้เป็นข้อแตกต่างและเหตุผลที่ระบบใหม่เหล่านี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก

ไฟถนนโซล่าเซลล์ มีอยู่ 2 ประเภทคือ : Off-grid ควบคุมการทำงานโดยพลังงานแสงอาทิตย์(ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าภายใน) และ Grid-Tied ควบคุมการทำงานโดยไฟ้า(เชื่อมต่อหรือควบคุมโดยระบบไฟฟ้าภายใน) เสาไฟฟ้าตามท้องถนน ไฟถนนโซล่าเซลล์ ควบคุมการทำงานโดยระบบแสงอาทิตย์ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าสร้างพลังงานด้วยตัวเอง จึงทำให้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าจากระบบได้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่เชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้าภายใน ไฟถนนโซล่าเซลล์ ช่วยดึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ไปยังตารางในระหว่างวันแล้วใช้พลังงานไฟฟ้าในเวลากลางคืน ระบบเหล่านี้มักมีขนาดสำหรับการออกแบบระบบ NET Zero หรืออาคารที่มีพลังงานจากโรงไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าพวกเขาผลิตพลังงานได้เพียงพอในระหว่างวันเพื่อชดเชยการใช้ไฟฟ้าของแสงในเวลากลางคืน การออกแบบระบบทั้งสองสำหรับไฟถนนจากพลังงานแสงอาทิตย์ต้องคำนึงถึงหลายมุมมองของโครงการ แสงที่ต้องการ, ระดับแสงที่ต้องการ, ระยะเว้นวัตต์, กำลังไฟติดตั้ง, และพลังงานสำรอง (ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าภายใน)

ชนิดของไฟโซล่าเซลล์ที่นิยใช้กัน

ยุคปัจจุบันการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ อาจแยกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การผลิตไฟโซล่าเซลล์ และการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย คือ ไฟโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการ นำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า ทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า(อิเลคตรอน) ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ สามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้

จากหลักการทำงานดังกล่าว ชนิดของสารหลักที่ใช้ในการผลิตไฟโซล่าเซลล์ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ
ประเภทแรกเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น แบบที่เป็นรูปผลึก (Crystalline) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous)

แบบที่เป็นรูปผลึก จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. แบบผลึกเดี่ยว (Mono Crystalline) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแรกๆ ที่ได้รับการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนหนาประมาณ 300 ไมครอน หรือที่เรียกว่าเวเฟอร์

2.แบบผลึกรวม (Poly Crystalline) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อ ลดต้นทุนของโซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยว โดยยังคงคุณสมบัติและประสิทธิภาพการใช้งาน ใกล้เคียงกับแบบผลึกเดี่ยวมากที่สุด ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะนิยมใช้เซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้

แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก ได้แก่ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน ( Amorphous หรือ Thin Film) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนและเวลาในการผลิต เนื่องจากเป็นฟิลม์บางเพียง 0.5 ไมครอน น้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่นกว่าแบบผลึก เหมาะกับการใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่